วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

สภาพอากาศในระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกวางตุ้งเฝ้าระวังการระบาดของหนอนใยผัก

ริ่มแรกมักจะพบไข่บนใบและใต้ใบพืชเป็นฟองเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก ส่วนใหญ่จะพบใต้ใบ เมื่อฟักออกจากไข่ หนอนจะมีตัวเรียวยาวหัวแหลม ท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็นสองแฉก เมื่อถูกตัวหนอนจะดิ้นอย่างแรง สามารถสร้างใยพาตัวเองขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบ จะเข้าทำลายกัดกินผิวใบผัก ทำให้เป็นรูพรุนคล้ายร่างแห จากนั้นหนอนจะชักใยบางๆคลุมตัวไว้ติดอยู่กับใบพืชเพื่อเข้าดักแด้
วิธีป้องกันกำจัดให้ใช้แบบผสมผสาน ทั้งวิธีกล วิธีเขตกรรม และใช้สารเคมี
วิธีกล ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง ติดตั้ง 80 กับดักต่อไร่ โดยเฉลี่ยจะจับผีเสื้อ หนอนใยผัก ได้ 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก และเปลี่ยนกับดักทุก 7-10 วันครั้ง จะสามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงได้มากกว่า 50%...ใช้กับดักแสงไฟ เป็นหลอดเรืองแสงสีน้ำเงิน 20 วัตต์ ติดตั้งรอบนอกแปลงผัก เหมาะสมกับการจับมากที่สุด มีราคาถูกและปลอดภัยกว่าใช้หลอด blacklight-blue 20 วัตต์...ใช้โรงเรือนตาข่ายไนลอน หรือ ปลูกผักกางมุ้ง ด้วยตาข่ายไนลอนขนาด 16 mesh (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) จะสามารถป้องกัน หนอนใยผัก และหนอนผีเสื้อชนิดอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีเขตกรรม ไถพรวนดินตากแดด หรือทำลายซากพืชอาหาร หรือปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อลดการขยายพันธุ์และลดการระบาดอย่างต่อเนื่อง
การใช้สารเคมี ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลง สไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 60-80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โทลเฟนไพแร็ด 16% อีซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
ควรพ่นสารสลับชนิดกัน และไม่พ่นสารชนิดเดียวเกิน 2-3 ครั้ง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ปคบ.จับรง.ผลิตสารเคมีเถื่อนค่า50ล้าน

ปคบ. บุกจับโรงงานผลิตสารเคมีเถื่อน  ค่า กว่า 50 ล้านบาท พื้นที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม พ.ต.ท.เทิม ผิวขำ สว.กก.2 บก.ปคบ. ร.ต.อ.ลือชัย ตันชนะ...